ที่มาและความสำคัญ

พระราชบัญญัติพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา มาตรา 3 ได้บัญญัติไว้ว่า พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา หมายถึงพื้นที่ที่คณะรัฐมนตรีประกาศกำหนดให้เป็นพื้นที่ปฏิรูปการบริหารและการจัดการศึกษาเพื่อสนับสนุนการสร้างนวัตกรรม จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้

  1. 1. คิดค้นและพัฒนานวัตกรรมการศึกษาและการเรียนรู้เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของผู้เรียน รวมทั้งเพื่อดำเนินการให้มีการขยายผลไปใช้ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานอื่น
  2. 2. ลดความเหลื่อมล้ำในการศึกษา
  3. 3. กระจายอำนาจและให้อิสระแก่หน่วยงานทางการศึกษา และสถานศึกษานำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาเพื่อเพิ่มความคล่องตัวในการบริหารและการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
  4. 4. สร้างและพัฒนากลไกในการจัดการศึกษาร่วมกันระหว่างภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา

(1) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1 จำนวน 27 แห่ง

(2) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2 จำนวน 13 แห่ง

(3) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3 จำนวน 9 แห่ง

(4) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร จำนวน 13 แห่ง

(5) สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จำนวน 23 แห่ง

(๖) สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 9 แห่ง

และตามมติคณะกรรมการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดสุราษฎร์ธานี ในคราวประชุมครั้งที่ 2/2566 เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2566 มีมติให้เพิ่มเติมสถานศึกษานำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดสุราษฎร์ธานี (เพิ่มเติม) จำนวน 1 แห่ง คือ โรงเรียนบ้านหัวสะพาน มิตรภาพที่ 217 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3 รวมสถานศึกษานำร่องทั้งหมด 95 แห่ง

200+

800+

90+

วัตถุประสงค์

เพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการจัดให้มีระบบข้อมูลของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาตามมาตรา 24 วรรคหนึ่ง (1) แห่งพระราชบัญญัติพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562